วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2550

ความแตกต่างของระบบ DSS และ MIS

สารสนเทศ (Information) หมายถึงข่าวสารที่ได้จากการนำ ข้อมูลดิบ (rawdata) มาคำนวณทางสถิติหรือประมวลผลอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งข่าวสารที่ได้ออกมานั้นจะอยู่ในรูปที่สามารถนำไปใช้งานได้ทันที
เทคโนโลยีสารสนเทศ(Information Technology) หมายถึงกระบวนการต่าง ๆ และระบบงานที่ช่วยเหลือให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ
เทคโนโลยีของระบบสารสนเทศในปัจจุบัน จะประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
1. ระบบประมวลผลข้อมูล(Data Processing Systems)
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร(Management Information System)
3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ(Decision Support System)
4. ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง(Execuitive Information System)
5. ระบบผู้เชี่ยวชาญ(Expert Systems)
6.1 สารสนเทศกับการตัดสินใจ
ในองค์กรต่าง ๆ นั้น สามารถแบ่งการทำงานได้เป็น 4 ระดับด้วยกันคือ
1.ระดับการวางแผนยุทธศาสตร์ระยะยาว(strategi planning)
2.ระดับวางแผนการบริหาร(tactical planning)
3.ระดับวางแผนการปฏิบัติการ(operational planning)
4.ระดับผู้ปฏิบัติการ(clerical)
โดยตั้งแต่ 1-3 ระดับจะจัดอยู่ในระดับของผู้บริหาร(Menagement) และระดับที่ 4 จะจัดอยู่ในระดับปฏิบัติการ(Operation)










ระบบสารสนเทศจะทำการเก็บรวบรวมข้อมุลจากระดับปฏิบัติการและทำการประมวลผลเพื่อให้สารสนเทศกับบุคลากรในระดับต่าง ๆ ซึ่งในแต่ละระดับนั้นจะใช้ลักษณะและปริมาณของสารสนเทศที่แตกต่างกันไป ระบบสารสนเทศในองค์กรสามารถเขียนแทนด้วยภาพปิรามิดดังนี้
1. ระดับปฏิบัติการ บุคลากรในระดับนี้จะเกี่ยวข้องอยู่กับงานที่ต้องการกระทำซ้ำ ๆ กัน และจะเน้นไปที่การจัดการรายการประจำวัน นั่นคือบุคลากรในระดับนี้เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศในฐานะเป็นผู้จัดการหาข้อมุลเข้าสู่ระบบ ตัวอย่าง เช่น เจ้าหน้าที่ผู่ทำหน้าที่ป้อนข้อมูลการสั่งซื้อของลุกค้าเข้าสู่คอมพิวเตอร์ในระบบสารสนเทศเพื่อการขาย หรือตัวแทนการจองตั๋วและขายตั๋วในระบบจองตั๋วเครื่องบิน
2. ระดับวางแผนปฏิบัติการ บุคลากรในระดับนี้ จะเป็นผู้บริหารขั้นต้นซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานประจำวันและการวางแผนบริหารงานที่เกี่ยวข้องกับระยะเวลาสั้น เช่น แผนงานประจำวัน ประจำสัปดาห์ ส่วนมากจะเกี่ยวข้องกับผลการปฏิบัติการในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ เท่านั้น
3. ระดับวางแผนการบริหาร บุคลากรในระดับนี้ จะเน้นผู้บริหารระดับกลาง ซึ่งมีหน้าที่ในการวางแผนให้บรรลุเป้าหมายต่าง ๆ เพื่อให้องค์กรสามารถประสบความสำเร็จตามแผนงานรัรยะยาวที่กำหนดโดยผู้บริหารระดับสูง สารสนเทศที่ผู้บริหารระดับนี้ต้องการ มักจะเป็นสารสนเทศตามคาบเวลาซึ่งมีระยะเวลานานกว่าผู้บริหารขั้นต้น และจะเป็นสารสนเทศที่รวบรวมข้อมูลทั้งจากภายในและภายนอกองค์กรเช่นการวิเคราะห์คู่แข่งทางการตลาด
4. ระดับวางแผนยุทธศาสตร์ระยะยาว ผู้บริหารในระดับนี้จะเป็นผู้บริหารระดับสูงสุด ซึ่งเน้นในเรื่องเป้าประสงค์ขององค์กร ระบบสารสนเทศที่ต้องการจะเน้นที่รายงานสรุป รายงานแบบ What-if และการวิเคราะห์แนวโน้มต่าง ๆ (trend analysis) ตัวอย่างเช่น ประธานบริษัทต้องการรายงานที่แสดงแนวโน้มการขายในอีกสี่ปีข้างหน้าของผลิตภัณฑ์สามชนิดของบริษัท เพื่อดูแนวโน้มในการเติบโตของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ว่า ผลิตภัณฑ์ใดจะมีแนวโน้มที่ดีกว่า ปรือผลิตภัณฑ์ใดที่อาจสร้างปัญหาให้บริษัทได้
6.2 ระบบประมวลผลข้อมูล
ระบบประมวลผลข้อมูล(Data Processing Systems หรือ DP) หรือบางครั้งเรียกว่า ระบบประมวลผลรายการประจำ(Transaction Processing System หรือ TPS) หรือระบบประมวลผลข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Data Processing หรือ EDP) เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการข้อมูลพื้นฐานโดยเน้นที่การประมวลผลรายการประจำวัน(transaction)และการเก็บรักษาข้อมูล
ระบบประมวลผลข้อมุลมักจะทำงานอยู่เฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใดของธุรกิจเท่านั้น เช่นฝ่ายการเงินและการบัญชี ฝ่ายผลิต ฝ่ายการตลาดโดยแต่ละฝ่ายจะมีการประมวลผลที่แยกจากกัน
ระบบประมวลผลข้อมูลมักจะถูกใช้งานได้ถึงระดับของผู้บริหารระดับปฏิบัติการ(operational management) เท่านั้น เนื่องจากระบบชนิดนี้ไม่ยืดหยุ่น และไม่สามารถสนองความต้องการข้อมูลหรือสารสนเทศที่ไม่ได้จัดเก็บอยู่ในระบบได้อย่างไรก็ดีข้อมูลจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับนำไปประมวลผลในระบบระดับสูงอื่น ๆ ซึ่งมีความยืดหยุ่นพอที่จะให้สารสนเทศสามารถตัดสินใจในสภาวะแวดล้อมที่มักมีการเปลี่ยนแปลงได้
6.3 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร(Management Information System)หรือ MIS คือระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยจะรวมทั้งสารสนเทศจากภายในและภายนอก สารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน แต่โดยพื้นฐานของระบบเอ็มไอเอสแล้ว จะเป็นระบบที่สามารถสนับสนุนยข้อมูลให้ผู้บริหารทั้งสามระดับคือทั้งผู้บริหารระดับต้น ผู้บริหารระดับกลาง และผู้บริหารระดับสูง โดยระบบเอ็มไอเอสจะให้ราายงานที่สรุปสารสนเทศซึ่งรวบรวมจากฐานข้อมูลทั้งหมดของบริษัทจุดประสงค์ของรายงานจะเน้นให้ผู้บริหารสามารถมองเหฆ้นแนวโน้มและภาพรวมขององค์กรในปัจจุบัน รวมทั้งสามารถควบคุมและตรวจสอบผลของระดับปฏิบัติการด้วย
คุณสมบัติที่ดีระบบเอ็มไอเอสคือ
1.ระบบเอ็มไอเอส จะสนับสนุนการทำงานของระบบประมวลผลข้อมูลและการจัดเก็บข้อมูลรายวัน
2. ระบบเอ็มไอเอส จะใช้ฐานข้อมูลที่ถูกรวมเข้าด้วยกัน และสนับสนุนการทำงานของฝ่ายต่าง ๆ ในองค์กร
3. ระบบเอ็มไอเอส จะช่วยให้ผู้บริหารระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง เรียกใช้ ข้อมูลที่เป็นโครงสร้างได้ตามเวลาที่ต้องการ
4. ระบบเอ็มไอเอส จะมีความยืดหยุ่น และสามารถรองรับความต้องการข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไปขององค์กร
5. ระบบเอ็มไอเอส ต้องมีระบบรักษาความลับของข้อมูล และจำกัดการใช้งานของบุคคลเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น
ความแตกต่างของระบบเอ็มไอเอสและดีพี
1.การใช้ระบบฐานข้อมุลร่วมกันของเอ็มไอเอส แทนการใช้ระบบแฟ้มข้อมูลแบบแยกกันของระบบดีพี ทำให้มีความยืดหยุ่นพอที่จะให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ
2.ระบบเอ็มไอเอสจะรวบรวมข้อมูลจากฝ่ายทำงานต่าง ๆ ขณะที่ระบบดีพีมีการใช้งานแยกจากกันในแต่ละฝ่าย
3.ระบบเอ็มไอเอสจะให้สารสนเทศสำหรับผู้บริหารทุกระดับ ในขณะที่ระบบดีพีจะให้สารสนเทศสำหรับระดับปฏิบัติการเท่านั้น
4.สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ ส่วนมากจะได้รับการตอบสนองทันทีจากระบบเอ็มไอเอส ในขณะที่ระบบดีพีมักจะต้องรอให้เถึงเวลาสรุป
6.4 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ(Decision Support Systems)หรือ DSS เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นจากระบบเอ็มไอเอสอีกระดับหนึ่ง เนื่องจากถึงแม้ว่าผู้ทีทมีหน้าที่ในการตัดสินใจจะสามารถใช้ประสบการณ์หรือใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้วในระบบเอ็มไอเอสของบริษัท สำหรับทำการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพในงานปกติ แต่บ่อยครั้งผู้ที่จะตัดสินใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารในระดับวางแผนบริหารและวางแผนยุทธศาสตร์ จะเผชิญกับการตัดสินใจที่ประกอบด้วยปัจจัยที่ซับซ้อนเกินกว่าความสามารถของมนุษย์ที่จะประมวลเข้าด้วยกันได้อย่างถูกต้อง จำทำให้เกิดระบบสนับสนุนการตัดสินใจซึ่งระบบที่สนับสนุนความต้องการเฉพาะของผู้บริหารแต่ละคน
นอกจากนี้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะเป็นระบบสารสนเทศแบบโต้ตอบได้ ซึ่งจะใช้ชุดเครื่องมือที่ประกอบขึ้นจากทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ เพื่อช่วยให้ผู้ตัดสินใจสามารถใช้งานได้ง่ายที่สุด เช่น การแสดง
กราฟิกแบบต่าง ฟ หรือใช้ระบบการจัดการฐานข้อมูล (DBMS) เป็นต้น
คุณสมบัติของระบบ DSS ที่ดี
1.ระบบดีเอสเอส จะต้องช่วยผู้บริหารในกระบวนการตัดสินใจ
2. ระบบดีเอสเอสจะต้อบงถูกออกแบบมาให้สามารถเรียกใช้ทั้งข้อมูลแบบกึ่งโครงสร้างและแบบไม่มีครงสร้างแน่นอนได้
3. ระบบดีเอสเอสจะต้องสามารสนับสนุนผู้ตัดสินใจได้ในทุกระดับ แต่จะเน้นทีร่ระดับวางแผนบริหารและวางแผนยุทธศาสตร์
4.ระบบดีเอสเอสจะมีรูปแบบการใช้งานอเนกประสงค์ มีความสามารถในการจำลองสถารการณ์และมีเครื่องมือในการวิเคราะห์าหรัยช่วยเหลือผู้ทำพการตัดสินใจ
5.ระบบดีเอสเอสต้องมีกลไกช่วยให้สามารถเรียกใช้ข้อมุลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว
6.ระบบดีเอสเอสต้องทำงานโดยไม่ขึ้นกับระบบการทำงานตามตารางเวลาขององค์กร
7. ระบบดีเอสเอสต้องมีความยืดหยุ่นพอที่จะรองรับรูปแบบการรบริหารแบบต่าง ๆ
ความแตกต่างของระบบ DSS และ MIS
1.ระบบเอ็มไอเอส จะถูกออกแบบให้สามารถจัดการเฉพาะกับปัญหาที่มีโครงสร้างเท่านั้น ในขณะที่ระบบดีเอสเอสถูกออกแบบให้สามารถจัดการกับปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างหรือแบบไม่มีโครงสร้างแน่นอน
2.ระบบเอ็มไอเอสจะถูกออกแบบและสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนงานที่แน่นอน เช่น ระบบบัญชี การควบคุมสินค้าคงคลังหรือแม้แต่ระบบโดยรวมขององค์กรทั้งหมด ในขณะที่ระบบดีเอสเอสเป็นชุดของเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ ที่สามารถปรับให้เข้ากับสถานการณ์การตัดสินใจแบบต่าง ๆ ได้
3.ระบบเอ็มไอเอสจะให้รายงานหรือสารสนเทศที่สรุปออกมากับผู่ใช้ ในขณะที่ระบบดีเอสเอสจะโต้ตอบกับผู้ใช้ทันที
4.ระบบเอ็มไอเอสจะให้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์สูงกับผู้บริหารระดับกลาง ในขณะที่ระบบดีเอาเอาจะให้สารสนรเทศที่เหมาะกับทั้งผู้บริหารระดับกลางและระดับสูง
6.5 ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง
ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง(Executive Information Systems)หรือ ESS เป็นระบบที่สร้างขึ้น เพื่อสนับลสนุนสารสนเทศและการตัดสินใจสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะ หรือสามารถกล่วงได้ว่าระบบอีไอเอสก็คือส่วนหนึ่งของระบบดีเอสเอสที่แยกออกมา เพื่อเน้นในการให้สารสนเทศที่สำคัญต่อการบริหารแก่ผู้บริหารระดับสูง
ระบบอีไอเอสจะใช้ข้อมูลทั้งจากภายในและภายนอกอสงค์กร เช่น รายงานจากหน่วยงานของรัฐบาล หรือข้อมูลประชากร นำมาสรุปอยู่ในรูปแบบที่สามารถตรวจสอบและใช้ในการตัดสินใจโดยผู้บริหารได้ง่ายนอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้บริหารดูรายละเอียดที่ต้องการในจุดต่างๆ ได้อีกด้วย
ข้อดีของระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง
1.ง่ายต่อผู้บริหารระดับสูงในการนใช้งาน
2.การใช้งานไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์
3.ให้สารสนเทศสรุปของบริษัทในเวลาที่ต้องการ
4.ทำให้สามารถเข้าใจสารสนเทศได้ดีขึ้น
5.มีการกรองข้อมูลทำให้ประหยัดเวลา
6.ทำให้ระบบสามารถติดตามสารสนเทศได้ดีขึ้น
ข้อเสียของระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร
1.อาจทำให้ผู้บริหารจำนวนมากรู้สึกได้รับข้อมูลมากเกินไป
2.ยากต่อการประเมิณผลประโยชน์ที่ได้จากระบบ
3.ไม่สามารถทำการคำนวณที่ซับซ้อนได้
4.ยากต่อการรักษาข้อมูลให้ทันสมัยอยู่ตอลดเวลา
5.ก่อให้เกิดปัญหาการรักษาความลับของข้อมูล
ความแตกต่างขอระบบ ESS กับ DSS
1.ระบบดีเอสเอสจะถูกออกแบบเพื่อให้สารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลางถึงระดับสูง แต่ระบบอีไอเอสจะเน้นการให้สานสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะ
2.ระบบดีเอสเอสจะมีส่วนของการใช้งานที่ไม่ง่ายเท่ากับระบบอีไอเอส เนื่องจากระบบอีไอเอาเน้นให้ผู้บริหารระดับสูงสุดใช้เอง
3.ระบบอีไอเอสสามารถสร้างขึ้นมาบนระบบดีเอสเอส เสมือนเป็นระบบซึ่งช่วยให้สอบถามและใช้งานข้อมูลได้สะดวกขึ้น ซึ่งระบบอีไอเอสจะส่งต่อการสอบถามนั้นไปยังระบบดีเอสเอส และทำการสรนุปข้อมุลที่ระบบดีเอสเอสส่งมาให้อยู่ในรูปที่ผู้บริหารสามารถเข้าใจได้ง่าย
6.6 ระบบผู้เชี่ยวชาญ(Expert Systems)
ระบบผู้เชี่ยวชาญมีส่วนที่คล้ายคลึงกับระบบอื่น ๆ คือเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยผู้บริหารแก้ไขปัญหาหรือทำการตัดสินใจได้ดีขึ้น อย่างไรก็ดี ระบบผู้เชี่ยวชาญจะแตกต่างกับระบบอื่น อยู่มาก เนื่องจากระบบผู้เชี่ยวชาญจะเกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ มากกว่าสารสนเทศ และถูกออกแบบให้ช่วยในการตัดสินใจโดยใช้วิธีเดียวกับผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมนุษย์ โดยใช้หลักการทำงานด้วยระบบ ปัญญาประดิษฐ์
ระบบผู้เชี่ยวชาญจะทำการโต้ตอบกับมนุษย์ โดยมีการถามข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อความกระจ่างให้ข้อแนะนำ และช่วยเหลือในกรพะบวนการตัดสินใจ นั่นคือทำงานคล้ายกับเป็นมนุษย์ผู้เชี่ยวชาญในการแก้ไขปัญหานั้น ๆ เนทื่องจากระบบนี้ก็คือการจำลองความรู้ของผู้เชี่ยบวชาญจริงมานั่นเอง โดยผู้เชี่ยวชาญในที่นี้อาจเป็นได้ทั้งผู้เชี่ยวชาญในการบริหาร ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องภาษี ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องยาเป็นต้น
ข้อดีระบบผู้เชี่ยวชาญ
1.ระบบผู้เชี่ยวชาญ จะช่วยในการเก็บความรู้ของผู้เชี่ยวชาญในด้านใดด้านหนึ่งไว้ ทำให้ไม่สูญเสียความรู้นั้น เมื่อผู้เชี่ยวชาญต้องการออกจากองค์กรก็สามารถนำความรู้นี้ไปประกอบอาชีพได้
2.ระบบผู้เชี่ยวชาญ จะช่วยขยายขีดความสามารถในการตัดสินใจให้กับผู้บริหารจำนวนมากพรน้อม ๆ กันได้
3.ระบบผู้เชี่ยวชาญสามารถเพิ่มทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลให้กับผู้ทำการตัดสินใจได้เป็นอย่างมาก
4.ระบบผู้เชี่ยวชาญ จะทำให้การตัดสินใจในแต่ละครั้งมีความใกล้เคียงและไม่ขัดแย้งกัน
5.ระบบผู้เชี่ยวชาญ จะช่วยลดการพึ่งพาบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้
6.ระบบผู้เชี่ยวชาญ มีความเหมาะสมที่จะเป็นระบบในการฝึกสอนเป็นอย่างมาก

ไม่มีความคิดเห็น: